ซ่อมบ้านทรุด แก้ไขบ้านทรุด

เทคนิคการซ่อมบ้านทรุด ด้วยการเสริมเสาเข็ม
ปัญหาการเกิดบ้านทรุดตัวนั้นนับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกบ้านที่สร้างมาในระยะหนึ่งแล้ว ยิ่งถ้ามีสิ่งเร้าอื่นๆทั้งการมีการก่อสร้างมีการตอกเสาเข็มใกล้ๆ ส่วนรากฐานอย่างเสาเข็มเดิมมีการแตกหักและเคลื่อนตัว แม้กระทั่งบริเวณมีการท่วมขังของน้ำเป็นระยะเวลานานๆ หากเราสังเกตเห็นความผิดปกติต่างๆของตัวอาคารทั้งการเกิดการแตกร้าว อาคารเอียงหรือทรุดตัวทั้งหมด นั่นก็เป็นสัญญาณสำคัญที่บ่งบอกว่าตัวบ้านต้องได้รับการซ่อมบ้านทรุดแล้วนั่นเอง บางคนอาจจะมองเห็นว่าเป็นปัญหาเล็กน้อยรอจนกว่าจะใหญ่กว่านี้ มากกว่านี้แล้วค่อยทำก็ยังไหว แต่ตามหลักความเป็นจริงแล้วเป็นความคิดที่ผิดมากๆ เพราะหากยิ่งปล่อยให้เกิดการทรุดตัวอย่างเต็มที่มากเท่าไหร่ความเสียหายที่ตามมานั้นย่อมจะแก้ไขยากขึ้นมากเท่านั้น
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าในการแก้ไขบ้านทรุดจะมีวิธีการอย่างไร ซึ่งจะทำได้ด้วยการเสริมเสาเข็มเดิมเพื่อให้เพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักตัวอาคารได้ดียิ่งขึ้น หากเสาเข็มเดิมยังคงใช้งานได้อยู่ก็คงแค่เพิ่มเสาเข็ม แต่ถ้าอันเดิมแตกหักเสียหายมากก็อาจจะเสริมขึ้นมาใหม่แล้วตัดอันเดิมทิ้งไป โดยพิจารณาจากเสาเข็มเดิมถึงความยาวที่เราจะใส่ไป ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นวิธีการนี้ทำเพื่อหยุดปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างและยังเป็นการปรับระดับการทรุดตัวให้กลับมาใกล้เคียงกับของดั้งเดิมมากที่สุด 


ซ่อมบ้านทรุด
ซ่อมบ้านทรุด
การเลือกเสาเข็มที่ใช้เสริมเพื่อซ่อมบ้านทรุดตัวเองก็สำคัญมากๆ โดยเสาเข็มที่ใช้ในการเสริมรากฐานจะต้องสามารถติดตั้งได้แม้ในพื้นที่จำกัดที่มีความคับแคบมากๆ ไม่มีการเกิดแรงสั่นสะเทือนใดๆเมื่อทำการติดตั้ง มีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักได้ทันทีที่ติดตั้งเสร็จเรียบร้อย และสุดท้ายต้องสามารถตรวจสอบกำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มได้ในทุกๆต้น การเลือกใช้เสาเข็มให้ถูกกับปัญหาแต่ละอย่างถือว่าเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการแก้ไขบ้านทรุดที่เรามองข้ามไม่ได้แม้แต่น้อย
หลักๆแล้วเสาเข็มจะมีทั้งหมด ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1.             เสาเข็มเจาะ (Bored pile) เป็นเสาเข็มที่ส่วนมากทำด้วยเครื่องมือสามขา โดดเด่นเรื่องการใช้ในสถานที่ที่มีความคับแคบได้ดี เนื่องจากสามารถปรับขนาดเครื่องมือได้ เพียงแต่อาจจะไม่เหมาะกับงานที่ทรุดตัวมากๆ เพราะมีแรงสั่นสะเทือนในระหว่างการทำเสาเข็ม จึงเหมาะกับงานที่ทรุดตัวน้อยมากกว่า
เสาเข็มเหล็ก (Steel pile) เสาเข็มทำจากเหล็กรูปพรรณที่เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะตัดต่อได้ง่ายและยังทำงานได้ง่ายแม้ในพื้นที่จำกัด มักจะใช้เหล็กหน้าดัดรูปตัว  และเหล็กกลมกลวง ในส่วนการติดตั้งจะใช้เครื่องมืออย่างแม่แรงไฮดรอลิก(Hydraulic pack) การใช้งานเหมาะกับอาคารที่มีการทรุดตัวมากๆ เนื่องจากไม่ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนระหว่างทำเสาเข็มและสามารถรับน้ำหนักได้ทันที